วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

                           ข่าว องค์กรณ์และสถาบันไร่อ้อย



ปัจจุบัน สถาบันชาวไร่อ้อยมีหลายสถาบัน ส่วนสถาบันชาวไร่อ้อยตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 (ณ มกราคม 2552) มีทั้งสิ้น 29 สถาบัน ซึ่งทุกสถาบันต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน กล่าวคือมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 600 คน ต้องมีปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 และทั้ง 29 สถาบัน ได้รวมตัวเป็น 3 องค์กรชาวไร่อ้อยประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน

โรงงานน้ำตาลในประเทศมีรวม 47 โรงงาน (ฤดูการผลิต 2552/53 ทำการผลิต 46 แห่ง) ได้ก่อตั้งเป็น 3 สมาคมโรงงานได้แก่ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย

หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย / หัวหน้าโควตา คือ บุคคลที่โรงงานน้ำตาลทำสัญญาให้รวบรวมจัดหาอ้อยส่งให้กับโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่มักเป็นชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเป็นผู้ติดต่อกับโรงงานและรับจัดสรรปริมาณอ้อยที่จะส่งให้โรงงานในแต่ละฤดูหีบ โควตาที่ได้รับถ้าเกินกำลังปริมาณที่ตนผลิตได้ ก็จะนำส่วนเกินนี้ไปจัดสรรและทำสัญญากับชาวไร่อ้อยขนาดเล็กที่ตนรู้จัก ให้ครบตามจำนวนโควตาที่ได้รับจากโรงงานและดูแลควบคุมชาวไร่อ้อยรายเล็กแต่ละราย เพื่อให้ผลิตอ้อยได้ตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรร

เงินเกี๊ยวหรือเงินบำรุงอ้อย ในทางนิติกรรม คือ เงินมัดจำในการขายอ้อยล่วงหน้านั่นเอง โดยชาวไร่ทำสัญญาขายอ้อยให้โรงงานและโรงงานจ่ายเงินมัดจำเป็นเช็คล่วงหน้า ซึ่งชาวไร่มักนำไปขายลดกับธนาคารที่โรงงานมีเครดิตอยู่ แต่ก็มีชาวไร่บางรายที่เก็บเช็คไว้รอเข้าบัญชีเมื่อเช็คครบกำหนดในช่วงที่มีการส่งอ้อยเข้าโรงงาน สำหรับการให้เงินเกี๊ยวผ่านหัวหน้าโควตานั้น หัวหน้าโควตามักจะนำเงินเกี๊ยวไปปล่อยต่อให้ลูกไร่ของตนในลักษณะเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น