วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข่าว  การเข้าร่วมฟังการนำเสนอโครงการฝึกอบรมนักข่าวแห่งอนาคต

         


               เมื่อทรูวิชั่น้เดินสายเชิญชวนนักศึกษานิเทศศาสตร์ เข้าร่วมโครงการสอบชิงทุนไปฝึกงานกับสำนักข่าว BBC ประเทศอังกฤษ ขอเชิญรับฟังการนำเสนอพร้อมบรรยายพิเศษ ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 นี้ เวลา 9.00 - 11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น โดยในการ มีนักศึกษานิเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีการมาเข้าร่วมฟังกิจกรรมอย่างมากมายเลยทีเดียว การฟังบรรเป็นไปสนุกสนาน โดยมาการถามคำถาม-แล้วตอบเพื่อชิงรางวัลภายในการฟังบรรยายอีกด้วย โดยจะมีของรางวัล เช่น กระเป๋าใส่ดินสอ หมวก และกระเป๋ารีโมท เป็นต้น โดยเนื้อหาในการอบรมนั้น โทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television) หรือที่เราเรียกกันว่า ทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของคลื่นเสียงและวิดีโอโดยใช้สัญญาณดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ดังที่เรียกว่า มัลติแคสติ้ง (Multicasting) ฉะนั้น แม้ตัวภาพและเสียงจะคมชัดกว่าแบบอนาล็อก แต่ก็ต้องใช้โทรทัศน์ระบบ HDTV รวมถึงติดตั้งกล่องรับสัญญาณด้วย แต่ข้อดีของระบบดิจิตอล คือ รองรับการใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทุกที่ไม่มีสะดุด นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกมาสู่ทีวีดิจิตอลนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนรายใหม่ ๆ หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อกันมากขึ้น และเป็นการลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นได้รับประโยชน์จากเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงระบบ ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทาง รวมถึงอยู่ระหว่างการทดสอบสัญญาณ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการที่ติดตั้งเคเบิ้ลทีวี หรือจานดาวเทียมต่าง ๆ หรือไม่ ดังนั้นคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทาง กสทช .จะมี บทสรุปเรื่องการปรับเปลี่ยนสัญญาณในครั้งนี้อย่างไรต่อไป แต่การเปลี่ยนระบบในครั้งนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ทีวีดิจิตอล ทั้ง 24 ช่องนี้ สามารถดูผ่านจานรับดาวเทียมได้เหมือน ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยทีพีเอส หรือไม่ แต่ถ้าดูผ่านจานรับดาวเทียมไม่ได้ คำถามใหม่ คือ สำหรับผู้ที่ติดจานดาวเทียมไปแล้วจะทำอย่างไร ระหว่างซื้อกล่องรับสัญญาณเพื่อดู 24 ช่อง หรือดูผ่านทีวีดาวเทียม 200 ช่อง นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย และเพื่อให้ได้รู้จักระบบดิจิตอลกันมากขึ้น เชื่อว่า ณ วันนี้หลายท่านยังคงสงสัย และข้องใจเกี่ยวกับกรณีของการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณจากระบบอนาล็อก มาเป็นระบบทีวีดิจิตอล จะชี้ให้เห็นถึงการก้าวหน้าทางการศึกษา หรือยุคปัจจุบันที่เป็นอย่างรวดเร็ว และนักศึกษานิเทศศาสตร์ควรที่จะก้าวตามให้ทันการพัฒนาทางการศึกษาให้ทันด้วยเช่นเดียว เพื่อจะนำมาพัฒนาฝีมือ หรือพัฒนาการศึกษาให้ทันสมัย และก้าวแห่งยังยุค BBC
         
              และอีกหนึ่งกิจของสาขานิเทศศาสตร์ จะมีการฝึกกาจัดสัมมนาขึ้น โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ให้นักศึกษานิเทศศาสตร์ได้ทำหน้าที่ของตน เพื่อฝึกหัดการเป็นผู้จัดการสัมมนาขึ้น เช่น การเป็นพิธีกร กล่าวนำเปิดงาน และแผนกตอนรับ ลงทะเบียน และอีกหลายๆๆหน้าที่ไปพร้อมๆ กัน โดยภาพร่วมของการทำงานหรือทำหน้าที่ ก็ไปได้อย่างราบรื่นและสวยงามเลยทีเดียว

ข่าว3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เตรียมพร้อมรับผลผลิตอ้อยปี 55/56 จัดเวิร์คช็อปแก้ปัญหาอ้อยปนเปื้อน-อ้อยไฟไหม้ ปลายเดือนนี้


            

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ชี้แนวโน้มสถานการณ์อ้อยไฟไหม้ดีขึ้นชัดเจน หากมีการรณรงค์อย่างจริงจังและชาวไร่อ้อยให้ความร่วมมือ เผยบางโรงงานลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ได้กว่า 20% ลุยเดินหน้านำประเด็นการจัดการสิ่งปนเปื้อนในอ้อยเข้าทำเวิร์คช็อป ปลายเดือนตุลาคมนี้ เตรียมพร้อมรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2555/56 นางวัลยารีย์ ไพสุขศานติวัฒนา เลขานุการคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย (Mrs.Valyari Paisooksantivatana, Secretary of the TSMC’ s public relations working group) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหาอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยในช่วง 2 ฤดูการผลิตที่ผ่านมา (ฤดูการผลิตปี 2553/2554 และ 2554/2555) พบว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทรายและหน่วยงานภาครัฐได้ร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจถึงผลเสียของการผลิตน้ำตาลจากอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อน ตลอดจนการสนับสนุนสินเชื่อรถตัดอ้อย เพื่อให้จัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น


ทั้งนี้ สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2554/55 คิดเป็น 65.53% จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 97.97 ล้านตันอ้อย ลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2553/54 ที่มีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 66.77% จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 95.35 ล้านตันอ้อย โดยโรงงานน้ำตาลทรายที่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณผลผลิตอ้อยไฟไหม้ได้มากอย่างมีนัยสำคัญ เช่น โรงงานน้ำตาลอ่างเวียน ที่ลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเหลือ 44.09% จากเดิมที่เคยสูงถึง 64.45 % โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก ที่จากเดิมมีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้เข้าหีบสูงถึง 88.34% ลดเหลือ 78.80% ของอ้อย 2.15 ล้านตัน หรือโรงงานน้ำตาลรวมเกษตร ลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้จาก 41.77% เหลือ 34.91% ของอ้อย 3.44 ล้านตัน เป็นต้น


“โรงงานที่เห็นผลชัดเจนในการลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้นั้น เกิดจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง และได้รับความร่วมมือที่ดีจากชาวไร่อ้อย แต่ในบางพื้นที่ก็มีข้อจำกัดมากกว่า เช่นขาดแคลนแรงงาน หรือเข้าไม่ถึงสินเชื่อรถตัดอ้อย อย่างไรก็ตาม แนวทางของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ยังคงเดินหน้ารณรงค์ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด” นางวัลยารีย์กล่าว


ทั้งนี้ ปัญหาอ้อยปนเปื้อนในผลผลิตที่เข้าหีบ ถือเป็นปัญหาใหญ่ของโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากจะสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ และยังมีผลต่อผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงด้วย การจะผลักดันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยให้เติบโตในระยะยาว จะต้องลดปัญหานี้ให้ได้


ดังนั้น ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2555/56 ที่จัดขึ้นในวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ ที่จังหวัดนครนายก ได้นำหัวข้อ “การจัดการสิ่งปนเปื้อนในอ้อยของปีที่ผ่านมา” เข้าเป็นประเด็นหนึ่งในการหารือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยให้มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวไร่อ้อย และสร้างความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยได้ดียิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข่าว   กลุ่มมิตรผล ยกระดับมาตรฐานการจัดการแรงงานในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล จับมือภาคีลงนามความร่วมมือ ประกาศต้านการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อย






              กลุ่มมิตรผล ผสานความร่วมมือสมาคมชาวไร่อ้อย สหกรณ์ชาวไร่อ้อยและผู้รับเหมารายใหญ่เป็นภาคี ร่วมลงนามบรรลุข้อตกลงในการผลักดันให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลปราศจากการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกประเภท หลุดกรอบประเทศกลุ่มที่ 2 ภายใต้การจับตาของสหรัฐฯ พร้อมเดินหน้าปรับมาตรฐานข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน 8 ขั้นเทียบชั้นระดับสากล มุ่งสร้างโอกาสขยายพื้นที่ส่งออกในเวทีการค้าโลกนายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า ปมปัญหาการใช้แรงงานในภาคเกษตรกรรมอ้อยมาจากมุมมองที่แตกต่างในด้านการใช้ ?แรงงานเด็ก? ซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของเกษตกรชาวไร่ที่มีความสัมพันธ์แบบครอบครัวใหญ่ สมาชิกในครอบครัวร่วมแรงช่วยกันทำงาน เพื่อลดภาระการจ้างแรงงาน ภาพการมีเด็กเข้าไปอยู่ในเขตไร่อ้อยจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกจับตามองเช่นเดียวกับกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายของการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายการเร่งแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อยอย่างจริงจัง จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น และอาจส่งผลต่อการพิจารณาผ่อนปรนสถานะของประเทศไทยให้คงอยู่ในระดับกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor) โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาต่อไป แต่หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมองข้ามหรือละเลยต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว เมื่อสิ้นสุดกรอบระยะเวลาตามเงื่อนไขข้อกำหนดประเทศไทยในปี 2556 นี้ เราอาจถูกลดอันดับให้อยู่ในกลุ่มประเทศ Tier 3 หรือเป็นประเทศที่ถูกมาตรการกีดกันด้านการค้าและความช่วยเหลืออื่นๆ จากสหรัฐอเมริกา
                นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า กลุ่มมิตรผล ในฐานะภาคเอกชนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรมอ้อย ไม่เพียงแต่การบังคับใช้มาตรฐานด้านแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001) หรือสูงกว่ากฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการ (OHSAS 18001) ข้อกำหนดตามมาตรฐานของคู่ค้า แต่ยังได้ปรับมาตรฐานด้านแรงงานให้สูงขึ้นสอดรับกับระบบการรับรองมาตรฐานแรงงานที่มีการยอมรับกันในระดับสากล ครอบคลุมการใช้แรงงานในทุกโรงงานของกลุ่มมิตรผล ชาวไร่คู่สัญญา และผู้รับเหมาในด้านต่างๆการกำหนดมาตรฐานแรงงานที่เข้มงวดขึ้นเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลุ่มมิตรผลได้ริเริ่มดำเนินการภายใต้มาตรฐานดังกล่าวใน 8 ลำดับขั้น ประกอบด้วย