วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข่าว  การเข้าร่วมฟังการนำเสนอโครงการฝึกอบรมนักข่าวแห่งอนาคต

         


               เมื่อทรูวิชั่น้เดินสายเชิญชวนนักศึกษานิเทศศาสตร์ เข้าร่วมโครงการสอบชิงทุนไปฝึกงานกับสำนักข่าว BBC ประเทศอังกฤษ ขอเชิญรับฟังการนำเสนอพร้อมบรรยายพิเศษ ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 นี้ เวลา 9.00 - 11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น โดยในการ มีนักศึกษานิเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีการมาเข้าร่วมฟังกิจกรรมอย่างมากมายเลยทีเดียว การฟังบรรเป็นไปสนุกสนาน โดยมาการถามคำถาม-แล้วตอบเพื่อชิงรางวัลภายในการฟังบรรยายอีกด้วย โดยจะมีของรางวัล เช่น กระเป๋าใส่ดินสอ หมวก และกระเป๋ารีโมท เป็นต้น โดยเนื้อหาในการอบรมนั้น โทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television) หรือที่เราเรียกกันว่า ทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของคลื่นเสียงและวิดีโอโดยใช้สัญญาณดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ดังที่เรียกว่า มัลติแคสติ้ง (Multicasting) ฉะนั้น แม้ตัวภาพและเสียงจะคมชัดกว่าแบบอนาล็อก แต่ก็ต้องใช้โทรทัศน์ระบบ HDTV รวมถึงติดตั้งกล่องรับสัญญาณด้วย แต่ข้อดีของระบบดิจิตอล คือ รองรับการใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทุกที่ไม่มีสะดุด นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกมาสู่ทีวีดิจิตอลนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนรายใหม่ ๆ หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อกันมากขึ้น และเป็นการลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นได้รับประโยชน์จากเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงระบบ ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทาง รวมถึงอยู่ระหว่างการทดสอบสัญญาณ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการที่ติดตั้งเคเบิ้ลทีวี หรือจานดาวเทียมต่าง ๆ หรือไม่ ดังนั้นคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทาง กสทช .จะมี บทสรุปเรื่องการปรับเปลี่ยนสัญญาณในครั้งนี้อย่างไรต่อไป แต่การเปลี่ยนระบบในครั้งนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ทีวีดิจิตอล ทั้ง 24 ช่องนี้ สามารถดูผ่านจานรับดาวเทียมได้เหมือน ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยทีพีเอส หรือไม่ แต่ถ้าดูผ่านจานรับดาวเทียมไม่ได้ คำถามใหม่ คือ สำหรับผู้ที่ติดจานดาวเทียมไปแล้วจะทำอย่างไร ระหว่างซื้อกล่องรับสัญญาณเพื่อดู 24 ช่อง หรือดูผ่านทีวีดาวเทียม 200 ช่อง นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย และเพื่อให้ได้รู้จักระบบดิจิตอลกันมากขึ้น เชื่อว่า ณ วันนี้หลายท่านยังคงสงสัย และข้องใจเกี่ยวกับกรณีของการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณจากระบบอนาล็อก มาเป็นระบบทีวีดิจิตอล จะชี้ให้เห็นถึงการก้าวหน้าทางการศึกษา หรือยุคปัจจุบันที่เป็นอย่างรวดเร็ว และนักศึกษานิเทศศาสตร์ควรที่จะก้าวตามให้ทันการพัฒนาทางการศึกษาให้ทันด้วยเช่นเดียว เพื่อจะนำมาพัฒนาฝีมือ หรือพัฒนาการศึกษาให้ทันสมัย และก้าวแห่งยังยุค BBC
         
              และอีกหนึ่งกิจของสาขานิเทศศาสตร์ จะมีการฝึกกาจัดสัมมนาขึ้น โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ให้นักศึกษานิเทศศาสตร์ได้ทำหน้าที่ของตน เพื่อฝึกหัดการเป็นผู้จัดการสัมมนาขึ้น เช่น การเป็นพิธีกร กล่าวนำเปิดงาน และแผนกตอนรับ ลงทะเบียน และอีกหลายๆๆหน้าที่ไปพร้อมๆ กัน โดยภาพร่วมของการทำงานหรือทำหน้าที่ ก็ไปได้อย่างราบรื่นและสวยงามเลยทีเดียว

ข่าว3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เตรียมพร้อมรับผลผลิตอ้อยปี 55/56 จัดเวิร์คช็อปแก้ปัญหาอ้อยปนเปื้อน-อ้อยไฟไหม้ ปลายเดือนนี้


            

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ชี้แนวโน้มสถานการณ์อ้อยไฟไหม้ดีขึ้นชัดเจน หากมีการรณรงค์อย่างจริงจังและชาวไร่อ้อยให้ความร่วมมือ เผยบางโรงงานลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ได้กว่า 20% ลุยเดินหน้านำประเด็นการจัดการสิ่งปนเปื้อนในอ้อยเข้าทำเวิร์คช็อป ปลายเดือนตุลาคมนี้ เตรียมพร้อมรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2555/56 นางวัลยารีย์ ไพสุขศานติวัฒนา เลขานุการคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย (Mrs.Valyari Paisooksantivatana, Secretary of the TSMC’ s public relations working group) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหาอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยในช่วง 2 ฤดูการผลิตที่ผ่านมา (ฤดูการผลิตปี 2553/2554 และ 2554/2555) พบว่าปัญหาอ้อยไฟไหม้มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทรายและหน่วยงานภาครัฐได้ร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจถึงผลเสียของการผลิตน้ำตาลจากอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อน ตลอดจนการสนับสนุนสินเชื่อรถตัดอ้อย เพื่อให้จัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น


ทั้งนี้ สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2554/55 คิดเป็น 65.53% จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 97.97 ล้านตันอ้อย ลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2553/54 ที่มีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 66.77% จากปริมาณอ้อยเข้าหีบ 95.35 ล้านตันอ้อย โดยโรงงานน้ำตาลทรายที่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณผลผลิตอ้อยไฟไหม้ได้มากอย่างมีนัยสำคัญ เช่น โรงงานน้ำตาลอ่างเวียน ที่ลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเหลือ 44.09% จากเดิมที่เคยสูงถึง 64.45 % โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก ที่จากเดิมมีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้เข้าหีบสูงถึง 88.34% ลดเหลือ 78.80% ของอ้อย 2.15 ล้านตัน หรือโรงงานน้ำตาลรวมเกษตร ลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้จาก 41.77% เหลือ 34.91% ของอ้อย 3.44 ล้านตัน เป็นต้น


“โรงงานที่เห็นผลชัดเจนในการลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้นั้น เกิดจากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง และได้รับความร่วมมือที่ดีจากชาวไร่อ้อย แต่ในบางพื้นที่ก็มีข้อจำกัดมากกว่า เช่นขาดแคลนแรงงาน หรือเข้าไม่ถึงสินเชื่อรถตัดอ้อย อย่างไรก็ตาม แนวทางของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ยังคงเดินหน้ารณรงค์ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้และอ้อยปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด” นางวัลยารีย์กล่าว


ทั้งนี้ ปัญหาอ้อยปนเปื้อนในผลผลิตที่เข้าหีบ ถือเป็นปัญหาใหญ่ของโรงงานน้ำตาลทราย เนื่องจากจะสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ และยังมีผลต่อผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงด้วย การจะผลักดันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยให้เติบโตในระยะยาว จะต้องลดปัญหานี้ให้ได้


ดังนั้น ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2555/56 ที่จัดขึ้นในวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ ที่จังหวัดนครนายก ได้นำหัวข้อ “การจัดการสิ่งปนเปื้อนในอ้อยของปีที่ผ่านมา” เข้าเป็นประเด็นหนึ่งในการหารือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยให้มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวไร่อ้อย และสร้างความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยได้ดียิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข่าว   กลุ่มมิตรผล ยกระดับมาตรฐานการจัดการแรงงานในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล จับมือภาคีลงนามความร่วมมือ ประกาศต้านการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อย






              กลุ่มมิตรผล ผสานความร่วมมือสมาคมชาวไร่อ้อย สหกรณ์ชาวไร่อ้อยและผู้รับเหมารายใหญ่เป็นภาคี ร่วมลงนามบรรลุข้อตกลงในการผลักดันให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลปราศจากการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกประเภท หลุดกรอบประเทศกลุ่มที่ 2 ภายใต้การจับตาของสหรัฐฯ พร้อมเดินหน้าปรับมาตรฐานข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน 8 ขั้นเทียบชั้นระดับสากล มุ่งสร้างโอกาสขยายพื้นที่ส่งออกในเวทีการค้าโลกนายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า ปมปัญหาการใช้แรงงานในภาคเกษตรกรรมอ้อยมาจากมุมมองที่แตกต่างในด้านการใช้ ?แรงงานเด็ก? ซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของเกษตกรชาวไร่ที่มีความสัมพันธ์แบบครอบครัวใหญ่ สมาชิกในครอบครัวร่วมแรงช่วยกันทำงาน เพื่อลดภาระการจ้างแรงงาน ภาพการมีเด็กเข้าไปอยู่ในเขตไร่อ้อยจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกจับตามองเช่นเดียวกับกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายของการบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมายการเร่งแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อยอย่างจริงจัง จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น และอาจส่งผลต่อการพิจารณาผ่อนปรนสถานะของประเทศไทยให้คงอยู่ในระดับกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor) โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาต่อไป แต่หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมองข้ามหรือละเลยต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว เมื่อสิ้นสุดกรอบระยะเวลาตามเงื่อนไขข้อกำหนดประเทศไทยในปี 2556 นี้ เราอาจถูกลดอันดับให้อยู่ในกลุ่มประเทศ Tier 3 หรือเป็นประเทศที่ถูกมาตรการกีดกันด้านการค้าและความช่วยเหลืออื่นๆ จากสหรัฐอเมริกา
                นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า กลุ่มมิตรผล ในฐานะภาคเอกชนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรมอ้อย ไม่เพียงแต่การบังคับใช้มาตรฐานด้านแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001) หรือสูงกว่ากฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการ (OHSAS 18001) ข้อกำหนดตามมาตรฐานของคู่ค้า แต่ยังได้ปรับมาตรฐานด้านแรงงานให้สูงขึ้นสอดรับกับระบบการรับรองมาตรฐานแรงงานที่มีการยอมรับกันในระดับสากล ครอบคลุมการใช้แรงงานในทุกโรงงานของกลุ่มมิตรผล ชาวไร่คู่สัญญา และผู้รับเหมาในด้านต่างๆการกำหนดมาตรฐานแรงงานที่เข้มงวดขึ้นเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลุ่มมิตรผลได้ริเริ่มดำเนินการภายใต้มาตรฐานดังกล่าวใน 8 ลำดับขั้น ประกอบด้วย



วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

                           ข่าว องค์กรณ์และสถาบันไร่อ้อย



ปัจจุบัน สถาบันชาวไร่อ้อยมีหลายสถาบัน ส่วนสถาบันชาวไร่อ้อยตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 (ณ มกราคม 2552) มีทั้งสิ้น 29 สถาบัน ซึ่งทุกสถาบันต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน กล่าวคือมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 600 คน ต้องมีปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 และทั้ง 29 สถาบัน ได้รวมตัวเป็น 3 องค์กรชาวไร่อ้อยประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน

โรงงานน้ำตาลในประเทศมีรวม 47 โรงงาน (ฤดูการผลิต 2552/53 ทำการผลิต 46 แห่ง) ได้ก่อตั้งเป็น 3 สมาคมโรงงานได้แก่ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย

หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย / หัวหน้าโควตา คือ บุคคลที่โรงงานน้ำตาลทำสัญญาให้รวบรวมจัดหาอ้อยส่งให้กับโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่มักเป็นชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเป็นผู้ติดต่อกับโรงงานและรับจัดสรรปริมาณอ้อยที่จะส่งให้โรงงานในแต่ละฤดูหีบ โควตาที่ได้รับถ้าเกินกำลังปริมาณที่ตนผลิตได้ ก็จะนำส่วนเกินนี้ไปจัดสรรและทำสัญญากับชาวไร่อ้อยขนาดเล็กที่ตนรู้จัก ให้ครบตามจำนวนโควตาที่ได้รับจากโรงงานและดูแลควบคุมชาวไร่อ้อยรายเล็กแต่ละราย เพื่อให้ผลิตอ้อยได้ตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรร

เงินเกี๊ยวหรือเงินบำรุงอ้อย ในทางนิติกรรม คือ เงินมัดจำในการขายอ้อยล่วงหน้านั่นเอง โดยชาวไร่ทำสัญญาขายอ้อยให้โรงงานและโรงงานจ่ายเงินมัดจำเป็นเช็คล่วงหน้า ซึ่งชาวไร่มักนำไปขายลดกับธนาคารที่โรงงานมีเครดิตอยู่ แต่ก็มีชาวไร่บางรายที่เก็บเช็คไว้รอเข้าบัญชีเมื่อเช็คครบกำหนดในช่วงที่มีการส่งอ้อยเข้าโรงงาน สำหรับการให้เงินเกี๊ยวผ่านหัวหน้าโควตานั้น หัวหน้าโควตามักจะนำเงินเกี๊ยวไปปล่อยต่อให้ลูกไร่ของตนในลักษณะเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557



การพัฒนาระบบสารสนเทศ ขององค์กร สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ

1. การสำรวจองค์กรเบื้องต้น

สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้เริ่มก่อตั้งและได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 จดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย ตาม พรบ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 จากการรวมกลุ่มชาวไร่อ้อย กลุ่มหนึ่งที่ปลูกอ้อยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม ประมาณ 4-5 คน คือ

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช

นายสุชาติ ต.ศรีวงษ์

นายพิบูลย์ จันทะโพธิ์

นางเตียงคำ เหล็กทะเล

โดยมีนายธีระชัย แสนแก้ว เป็นผู้ประสานงาน สมาคมฯ เริ่มต้นจากการมีสมาชิก เพียง 482 ราย ส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม ได้เพียง 200,702 ตันพ.ศ. 2537 สมาคมฯ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้ร่วมกับสมาคมฯ ภาคอีสาน ก่อตั้ง “ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน”

พ.ศ. 2550 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม ที่ โรงงานน้ำตาลเอราวัณ คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขาเอราวัณพ.ศ. 2555 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม แห่งที่ 3 ที่ โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขา ไทยอุดรบ้านผือ สมาคมฯ เป็นองค์กรกลางประสานงานระหว่างมวลสมาชิกชาวไร่อ้อย กับโรงงานน้ำตาล หน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน สมาคมฯ มีอายุครบ 27 ปี มีนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมาแล้ว กว่า 8 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ ( พ.ศ. 2528 – 2531 )

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช ( พ.ศ. 2532 – 2535 )

นายทองสุข จำปาหอม ( พ.ศ. 2536 – 2541 )

นายสุรศักดิ์ วัธรานนท์ ( พ.ศ. 2542 – 2543 )

นายอุทัย บุตรลพ ( พ.ศ. 2544 – 2547 )

นายสมศรี เสียงเลิศ (พ.ศ. 2548 – 2551 )

นายทองสุข ชื่นตา ( พ.ศ. 2552 -2553 )

นายธีระชัย แสนแก้ว ( พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน )

สมาคมฯ ได้สังกัด ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน และมีสมาคมฯ ในสังกัด รวมทั้งสิ้น 14 สมาคมฯ

2. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร


สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ มีสื่อ วิทยุ เพื่อไว้กระจายข่าวให้ สมาชิกชาวไร่อ้อยได้รับรู้ถึงข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของราคาอ้อย หรือ เรื่องอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อชาวไร่อ้อยที่ต้องรับรู้เพื่อการพัฒนาไร่อ้อยให้มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจของประชาชน คนปลูกอ้อยเป็นอาชีพ โดยสมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ชาวไร่อ้อยให้ความสนใจเป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวชาวไร่อ้อยและองค์กรอีกด้วย

3. การออกแบบระบบ


ออกแบบ เพจ , บล็อก, ทวิต ขององค์กร จะมีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับเรื่องอ้อย สาระน่ารู้ และข่าวสารต่างๆ เพื่อทำให้ทุกคนที่ได้เข้าไปติดตามหรือเข้าไปดูได้รับผลประโยชน์อย่างมาก ได้รู้ถึงประโยชน์ของอ้อย และการปลูก วิธีดูแลรักษาอ้อยได้ผลผลิตเป็นอย่างมาก และจะการตกแต่งเพจหรือบล๊อคให้ดูสวยงาม เพื่อดึงดูดคนเข้ามาเยี่ยมชม

4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ


การพัฒนาอุปกรณ์ขององค์กร เราพยายามหาเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อมารอบรับในการกระจายข่าวสารขององค์กรไปยังชาวไร่อ้อยให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาระบบ


การเข้าไปใช้หรือวิธี เข้าไปยังเพจ บล็อก ขององค์กร คือ

-การมีสิ่งดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพจหรือบล็อก

-แชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์หรือเรื่องราวที่เราอยากนำเสนอ

-แชร์ภาพหรือสาระน่ารู้สอดคล้องกับเรื่องราวขององค์กรเพื่อทำให้องค์ไม่น่าเบื่อ

การดูแลรักษา บล็อก หรือ เพจ นั้น เราควรหาผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร มาเป็นผู้ดูแล เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แกคนหมู่มาก และเป็นการดูแล ตกแต่งบล็อกอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้บล็อกไม่น่าเบื่อ หรือจำเจซ้ำซาก และผู้มาเยือนจะได้ไม่เบื่อในการเข้ามารับชมข้อมูลของสมาคมชาวไร่อ้อย.



     ข่าวกลุ่มมิตรผล จับมือ 3 พันธมิตร นำร่องปลูกถั่วเหลืองในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินตามแนวทางการปลูกอ้อยยุคใหม่

      กลุ่มมิตรผล ร่วมกับ บริษัท กรีนสปอต จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว เปิดโครงการนำร่องส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกถั่วเหลืองในช่วงบำรุงดิน เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน และเพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างยั่งยืนตามแนวทางการปลูกอ้อยยุคใหม่ รวมทั้งช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร และลดการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ตั้งเป้าช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ 15 ตันต่อไร่ พร้อมขยายโครงการสู่กว่า 10 จังหวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งนี้ กลุ่มมิตรผลจะสนับสนุนการเข้าถึงและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการปลูกถั่วเหลืองแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ส่วนสยามคูโบต้าจะให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมในทุกขั้นตอน ส่วนกรีนสปอต ผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองตราไวตามิ้ลค์ และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดจากเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร จะจัดหาเมล็ดพันธุ์คุณภาพและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูก รวมทั้งการบำรุงรักษา และการป้องกันโรคพืชแก่เกษตรกรด้วย