วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557



การพัฒนาระบบสารสนเทศ ขององค์กร สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ

1. การสำรวจองค์กรเบื้องต้น

สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้เริ่มก่อตั้งและได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 จดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย ตาม พรบ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 จากการรวมกลุ่มชาวไร่อ้อย กลุ่มหนึ่งที่ปลูกอ้อยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม ประมาณ 4-5 คน คือ

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช

นายสุชาติ ต.ศรีวงษ์

นายพิบูลย์ จันทะโพธิ์

นางเตียงคำ เหล็กทะเล

โดยมีนายธีระชัย แสนแก้ว เป็นผู้ประสานงาน สมาคมฯ เริ่มต้นจากการมีสมาชิก เพียง 482 ราย ส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม ได้เพียง 200,702 ตันพ.ศ. 2537 สมาคมฯ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้ร่วมกับสมาคมฯ ภาคอีสาน ก่อตั้ง “ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน”

พ.ศ. 2550 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม ที่ โรงงานน้ำตาลเอราวัณ คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขาเอราวัณพ.ศ. 2555 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม แห่งที่ 3 ที่ โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขา ไทยอุดรบ้านผือ สมาคมฯ เป็นองค์กรกลางประสานงานระหว่างมวลสมาชิกชาวไร่อ้อย กับโรงงานน้ำตาล หน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน สมาคมฯ มีอายุครบ 27 ปี มีนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมาแล้ว กว่า 8 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ ( พ.ศ. 2528 – 2531 )

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช ( พ.ศ. 2532 – 2535 )

นายทองสุข จำปาหอม ( พ.ศ. 2536 – 2541 )

นายสุรศักดิ์ วัธรานนท์ ( พ.ศ. 2542 – 2543 )

นายอุทัย บุตรลพ ( พ.ศ. 2544 – 2547 )

นายสมศรี เสียงเลิศ (พ.ศ. 2548 – 2551 )

นายทองสุข ชื่นตา ( พ.ศ. 2552 -2553 )

นายธีระชัย แสนแก้ว ( พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน )

สมาคมฯ ได้สังกัด ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน และมีสมาคมฯ ในสังกัด รวมทั้งสิ้น 14 สมาคมฯ

2. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร


สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ มีสื่อ วิทยุ เพื่อไว้กระจายข่าวให้ สมาชิกชาวไร่อ้อยได้รับรู้ถึงข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของราคาอ้อย หรือ เรื่องอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อชาวไร่อ้อยที่ต้องรับรู้เพื่อการพัฒนาไร่อ้อยให้มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจของประชาชน คนปลูกอ้อยเป็นอาชีพ โดยสมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ชาวไร่อ้อยให้ความสนใจเป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวชาวไร่อ้อยและองค์กรอีกด้วย

3. การออกแบบระบบ


ออกแบบ เพจ , บล็อก, ทวิต ขององค์กร จะมีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับเรื่องอ้อย สาระน่ารู้ และข่าวสารต่างๆ เพื่อทำให้ทุกคนที่ได้เข้าไปติดตามหรือเข้าไปดูได้รับผลประโยชน์อย่างมาก ได้รู้ถึงประโยชน์ของอ้อย และการปลูก วิธีดูแลรักษาอ้อยได้ผลผลิตเป็นอย่างมาก และจะการตกแต่งเพจหรือบล๊อคให้ดูสวยงาม เพื่อดึงดูดคนเข้ามาเยี่ยมชม

4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ


การพัฒนาอุปกรณ์ขององค์กร เราพยายามหาเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อมารอบรับในการกระจายข่าวสารขององค์กรไปยังชาวไร่อ้อยให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาระบบ


การเข้าไปใช้หรือวิธี เข้าไปยังเพจ บล็อก ขององค์กร คือ

-การมีสิ่งดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพจหรือบล็อก

-แชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์หรือเรื่องราวที่เราอยากนำเสนอ

-แชร์ภาพหรือสาระน่ารู้สอดคล้องกับเรื่องราวขององค์กรเพื่อทำให้องค์ไม่น่าเบื่อ

การดูแลรักษา บล็อก หรือ เพจ นั้น เราควรหาผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร มาเป็นผู้ดูแล เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แกคนหมู่มาก และเป็นการดูแล ตกแต่งบล็อกอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้บล็อกไม่น่าเบื่อ หรือจำเจซ้ำซาก และผู้มาเยือนจะได้ไม่เบื่อในการเข้ามารับชมข้อมูลของสมาคมชาวไร่อ้อย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น