วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

                           ข่าว องค์กรณ์และสถาบันไร่อ้อย



ปัจจุบัน สถาบันชาวไร่อ้อยมีหลายสถาบัน ส่วนสถาบันชาวไร่อ้อยตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 (ณ มกราคม 2552) มีทั้งสิ้น 29 สถาบัน ซึ่งทุกสถาบันต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน กล่าวคือมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 600 คน ต้องมีปริมาณอ้อยส่งเข้าโรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 และทั้ง 29 สถาบัน ได้รวมตัวเป็น 3 องค์กรชาวไร่อ้อยประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน

โรงงานน้ำตาลในประเทศมีรวม 47 โรงงาน (ฤดูการผลิต 2552/53 ทำการผลิต 46 แห่ง) ได้ก่อตั้งเป็น 3 สมาคมโรงงานได้แก่ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย

หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย / หัวหน้าโควตา คือ บุคคลที่โรงงานน้ำตาลทำสัญญาให้รวบรวมจัดหาอ้อยส่งให้กับโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่มักเป็นชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก หัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยเป็นผู้ติดต่อกับโรงงานและรับจัดสรรปริมาณอ้อยที่จะส่งให้โรงงานในแต่ละฤดูหีบ โควตาที่ได้รับถ้าเกินกำลังปริมาณที่ตนผลิตได้ ก็จะนำส่วนเกินนี้ไปจัดสรรและทำสัญญากับชาวไร่อ้อยขนาดเล็กที่ตนรู้จัก ให้ครบตามจำนวนโควตาที่ได้รับจากโรงงานและดูแลควบคุมชาวไร่อ้อยรายเล็กแต่ละราย เพื่อให้ผลิตอ้อยได้ตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรร

เงินเกี๊ยวหรือเงินบำรุงอ้อย ในทางนิติกรรม คือ เงินมัดจำในการขายอ้อยล่วงหน้านั่นเอง โดยชาวไร่ทำสัญญาขายอ้อยให้โรงงานและโรงงานจ่ายเงินมัดจำเป็นเช็คล่วงหน้า ซึ่งชาวไร่มักนำไปขายลดกับธนาคารที่โรงงานมีเครดิตอยู่ แต่ก็มีชาวไร่บางรายที่เก็บเช็คไว้รอเข้าบัญชีเมื่อเช็คครบกำหนดในช่วงที่มีการส่งอ้อยเข้าโรงงาน สำหรับการให้เงินเกี๊ยวผ่านหัวหน้าโควตานั้น หัวหน้าโควตามักจะนำเงินเกี๊ยวไปปล่อยต่อให้ลูกไร่ของตนในลักษณะเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557



การพัฒนาระบบสารสนเทศ ขององค์กร สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ

1. การสำรวจองค์กรเบื้องต้น

สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้เริ่มก่อตั้งและได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 จดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย ตาม พรบ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 จากการรวมกลุ่มชาวไร่อ้อย กลุ่มหนึ่งที่ปลูกอ้อยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม ประมาณ 4-5 คน คือ

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช

นายสุชาติ ต.ศรีวงษ์

นายพิบูลย์ จันทะโพธิ์

นางเตียงคำ เหล็กทะเล

โดยมีนายธีระชัย แสนแก้ว เป็นผู้ประสานงาน สมาคมฯ เริ่มต้นจากการมีสมาชิก เพียง 482 ราย ส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม ได้เพียง 200,702 ตันพ.ศ. 2537 สมาคมฯ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ได้ร่วมกับสมาคมฯ ภาคอีสาน ก่อตั้ง “ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน”

พ.ศ. 2550 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม ที่ โรงงานน้ำตาลเอราวัณ คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขาเอราวัณพ.ศ. 2555 สมาคมฯ ได้ขยายสาขาเพิ่ม แห่งที่ 3 ที่ โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี คือ สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ สาขา ไทยอุดรบ้านผือ สมาคมฯ เป็นองค์กรกลางประสานงานระหว่างมวลสมาชิกชาวไร่อ้อย กับโรงงานน้ำตาล หน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน สมาคมฯ มีอายุครบ 27 ปี มีนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมาแล้ว กว่า 8 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

นายรัตน์ ชินวานิชเจริญ ( พ.ศ. 2528 – 2531 )

นายอำนาจ อมรวิริยะพานิช ( พ.ศ. 2532 – 2535 )

นายทองสุข จำปาหอม ( พ.ศ. 2536 – 2541 )

นายสุรศักดิ์ วัธรานนท์ ( พ.ศ. 2542 – 2543 )

นายอุทัย บุตรลพ ( พ.ศ. 2544 – 2547 )

นายสมศรี เสียงเลิศ (พ.ศ. 2548 – 2551 )

นายทองสุข ชื่นตา ( พ.ศ. 2552 -2553 )

นายธีระชัย แสนแก้ว ( พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน )

สมาคมฯ ได้สังกัด ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน และมีสมาคมฯ ในสังกัด รวมทั้งสิ้น 14 สมาคมฯ

2. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร


สมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ มีสื่อ วิทยุ เพื่อไว้กระจายข่าวให้ สมาชิกชาวไร่อ้อยได้รับรู้ถึงข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของราคาอ้อย หรือ เรื่องอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อชาวไร่อ้อยที่ต้องรับรู้เพื่อการพัฒนาไร่อ้อยให้มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจของประชาชน คนปลูกอ้อยเป็นอาชีพ โดยสมาคมชาวไร่อ้อยอิสานเหนือ ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ชาวไร่อ้อยให้ความสนใจเป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวชาวไร่อ้อยและองค์กรอีกด้วย

3. การออกแบบระบบ


ออกแบบ เพจ , บล็อก, ทวิต ขององค์กร จะมีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับเรื่องอ้อย สาระน่ารู้ และข่าวสารต่างๆ เพื่อทำให้ทุกคนที่ได้เข้าไปติดตามหรือเข้าไปดูได้รับผลประโยชน์อย่างมาก ได้รู้ถึงประโยชน์ของอ้อย และการปลูก วิธีดูแลรักษาอ้อยได้ผลผลิตเป็นอย่างมาก และจะการตกแต่งเพจหรือบล๊อคให้ดูสวยงาม เพื่อดึงดูดคนเข้ามาเยี่ยมชม

4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ


การพัฒนาอุปกรณ์ขององค์กร เราพยายามหาเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อมารอบรับในการกระจายข่าวสารขององค์กรไปยังชาวไร่อ้อยให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาระบบ


การเข้าไปใช้หรือวิธี เข้าไปยังเพจ บล็อก ขององค์กร คือ

-การมีสิ่งดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพจหรือบล็อก

-แชร์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์หรือเรื่องราวที่เราอยากนำเสนอ

-แชร์ภาพหรือสาระน่ารู้สอดคล้องกับเรื่องราวขององค์กรเพื่อทำให้องค์ไม่น่าเบื่อ

การดูแลรักษา บล็อก หรือ เพจ นั้น เราควรหาผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร มาเป็นผู้ดูแล เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แกคนหมู่มาก และเป็นการดูแล ตกแต่งบล็อกอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้บล็อกไม่น่าเบื่อ หรือจำเจซ้ำซาก และผู้มาเยือนจะได้ไม่เบื่อในการเข้ามารับชมข้อมูลของสมาคมชาวไร่อ้อย.



     ข่าวกลุ่มมิตรผล จับมือ 3 พันธมิตร นำร่องปลูกถั่วเหลืองในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินตามแนวทางการปลูกอ้อยยุคใหม่

      กลุ่มมิตรผล ร่วมกับ บริษัท กรีนสปอต จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว เปิดโครงการนำร่องส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกถั่วเหลืองในช่วงบำรุงดิน เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน และเพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างยั่งยืนตามแนวทางการปลูกอ้อยยุคใหม่ รวมทั้งช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร และลดการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ตั้งเป้าช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ 15 ตันต่อไร่ พร้อมขยายโครงการสู่กว่า 10 จังหวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งนี้ กลุ่มมิตรผลจะสนับสนุนการเข้าถึงและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการปลูกถั่วเหลืองแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ส่วนสยามคูโบต้าจะให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมในทุกขั้นตอน ส่วนกรีนสปอต ผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองตราไวตามิ้ลค์ และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดจากเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร จะจัดหาเมล็ดพันธุ์คุณภาพและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูก รวมทั้งการบำรุงรักษา และการป้องกันโรคพืชแก่เกษตรกรด้วย